เมนู

อรรถกถาโคมยปิณฑสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในโคมยปิณฑสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สสฺสติสมํ ได้แก่ เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย
มีภูเขาสิเนรุ แผ่นดินใหญ่ พระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺตํ โคมยปิณฺฑํ ได้แก่ ก้อนโคมัย (มูลโค)มีประมาณ
น้อยขนาดเท่าดอกมะซาง.
ถามว่า ก็ก้อนโคมัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มาจากไหน ?
ตอบว่า พระองค์ทรงหยิบมาจากก้อนโคมัยที่ภิกษุรูปนั้นนำมา
เพื่อต้องการใช้ฉาบทา (เสนาสนะ).
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็พึงทราบว่า ก้อนโคมัย พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงใช้ฤทธิ์บันดาลให้มาอยู่ในพระหัตถ์ ก็เพื่อให้ภิกษุได้
เข้าใจความหมาย (ของพระธรรมเทศนา) ได้แจ่มแจ้ง.
บทว่า อตฺตภาวปฏิลาโภ ได้แก่ ได้อัตภาพ. บทว่า นยิทํ
พฺรหฺมจริยวาโส ปญฺญาเยถ
ความว่า ชื่อว่า การอยู่ประพฤติ
มรรคพรหมจรรย์นี้ไม่พึงปรากฏ เพราะว่ามรรคเกิดขึ้นทำสังขาร
ที่เป็นไปในภูมิ 3 ให้ชะงัก ก็ถ้าว่าอัตภาพเพียงเท่านี้ จะพึงเที่ยงไซร้
มรรคแม้เกิดขึ้นก็จะไม่สามารถทำสังขารวัฏให้ชะงักได้ เพราะเหตุนั้น
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์จะไม่พึงปรากฏ.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า ถ้าสังขารอะไรจะพึงเที่ยงไซร้ สมบัติ
ที่เราเคยครอบครอง เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ก็จะพึง
เที่ยงด้วย แต่สมบัติแม้นั้นก็ไม่เที่ยง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ภูตปุพฺพาหํ ภิกฺขุ ราชา อโหสึ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสาวตีราชธานิปฺปมุขานิ ความว่า
กุสาวดีราชธานี เป็นใหญ่กว่านครเหล่านั้น อธิบายว่า ประเสริฐสุดกว่า
นคร (อื่น) ทั้งหมด.
บทว่า สารมยานิ คือ สำเร็จด้วยแก่นไม้จันทน์แดง. ก็
พระเขนย1 สำหรับบัลลังก์เหล่านั้นล้วนทำจากด้ายทั้งสิ้น. บทว่า
โคนกตฺถตานิ ความว่า บัลลังก์ทั้งหลายปูลาดด้วยผ้าขนแกะสีดำ
ซึ่งมีขนยาวเกิน 4 นิ้ว ที่คนทั้งหลายเรียกกันว่า ผ้าขนแกะมหาปัฏฐิยะ.
บทว่า ปฏิกตฺถตานิ ความว่า บัลลังก์ทั้งหลายปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีขาวที่ทำ
จากขนสัตว์ ซึ่งมีขนทั้ง 2 ด้าน. บทว่า ปฏลิกตฺถตานิ ความว่า
บัลลังก์ทั้งหลายปูลาดด้วยเครื่องปูลาดขนสัตว์มีดอกหนา. บทว่า
กทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณานิ ความว่า บัลลังก์ทั้งหลายปูลาดด้วย
พระบรรจถรณ์ชั้นยอด ทำจากหนังชะมด. เล่ากันว่า เครื่องลาด
ชนิดนั้น คนทั้งหลายเอาหนังชะมด ลาดทับบนผ้าขาว แล้วเย็บทำ.
บทว่า สอุตฺตรจฺฉทนานิ ความว่า บัลลังก์ทั้งหลาย พร้อมทั้ง
(ติด) หลังคาเบื้องบน อธิบายว่า พร้อมทั้งเพดานสีแดงที่ติดไว้เบื้องบน.
บทว่า อุภโตโลหิตกูปธานานิ ความว่า พระเขนยสีแดงที่วางไว้
สองข้างของบัลลังก์ คือ พระเขนยหนุนพระเศียร2 และพระเขนยหนุน
พระบาท.
ในบทว่า เวชยนฺตรถปฺปมุขานิ นี้มีอธิบายว่า รถของพระราชานั้น
ชื่อว่า เวชยันตะ มีดุมล้อทำด้วยแก้วอินทนิลและแก้วมณี มีกำ (ซื่ล้อ)
ทำด้วยแก้ว 7 ประการ มีกงทำด้วยแก้วประพาฬ มีเพลาทำด้วยเงิน
1. ปาฐะว่า ทามํ ฉบับพม่าเป็น อุปธานํ แปลตามฉบับพม่า
2. ปาฐะว่า สีสูปขานญฺจ ฉบับพม่าเป็น สีสูปธานญฺจ แปลตามฉบับพม่า

มีงอนทำด้วยแก้วอินทนิลและแก้วมณี มีทูบทำด้วยเงิน รถนั้นจัดเป็น
รถทรง คือเป็นเลิศแห่งรถเหล่านั้น.
บทว่า ทุกูลสนฺทนานิ ได้แก่ มีผ้าทุกูลพัสตร์เป็นผ้าคลุมหลัง.*
บทว่า กํสูปธานานิ ได้แก่ ภาชนะสำหรับรีดนม ทำด้วยเงิน.**
บทว่า วตฺถโกฏิสหสฺสานิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง
พระภูษาที่ราชบุรุษนำไป ในเวลาประทับยืนสรงสนานด้วยคิดว่า
พระองค์จักทรงใช้พระภูษานั้นตามพระราชประสงค์.
บทว่า ภตฺตาภิหาโร ได้แก่ พระกระยาหารที่พึงนำเข้าไปเทียบ.
บทว่า ยมหํ เตน สมเยน อชฺฌาวสามิ ความว่า เราอยู่ใน
นครใด นครนั้นก็เป็นนครแห่งหนึ่งนั่นแล (ในบรรดานคร 84,000 นคร)
(ส่วน) ประยูรญาติที่เหลือ มีพระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นต้น
และคนที่เป็นทาส ก็อาศัยอยู่ด้วย.
แม้ในปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมายเดียวกัน)
นี้แล. แม้ในพระราชบัลลังก์เป็นต้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ก็ทรงใช้เอง
เพียงพระราชบัลลังก์เดียว บัลลังก์ที่เหลือ เป็นของสำหรับพระราชโอรส
เป็นต้น ทรงใช้สอย. บรรดาพระสนมทั้งหลาย ก็มีพระสนมคนเดียวเท่านั้น
ที่ปรนนิบัติถวาย. ที่เหลือเป็นเพียงบริวาร.
หญิงที่เกิดในครรภ์ของนางพราหมณี (ผู้เป็นมเหสี) ของกษัตริย์
ก็ดี หญิงที่เกิดในครรภ์ของเจ้าหญิง (ผู้เป็นภรรยา) ของพราหมณ์ก็ดี
ชื่อว่า เวลามิกา.
1. ปาฐะว่า ทุกูลสนฺทนาติ ฉบับพม่าเป็น ทุกูลสนฺถรานิ แปลตามฉบับพม่า.
2.ปาฐะว่า รชตฺมย โลหภาชนานิ ฉบับพม่าเป็น รชตมยโทหภาชนานิ แปลตามฉบับพม่า.

ด้วยบทว่า ปริทหามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เรานุ่งผ้า
คู่เดียวเท่านั้น ที่เหลือเป็นของพวกราชบุรุษที่เที่ยวแวดล้อม จำนวน
1,680,000 คน.
ด้วยบทว่า ภุญฺชามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราเสวย
ข้าวสุกประมาณ 1 ทะนานเป็นอย่างสูง ที่เหลือเป็นของราชบุรุษที่เที่ยว
แวดล้อม จำนวน 84,000 คน.
ก็ข้าวสุกถาดเดียว พอคน 10 คนกินได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงสมบัติ เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะนี้อย่างนี้แล้ว
บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงว่า สมบัติ นั้นไม่เที่ยง จึงตรัสคำว่า อิติ โข ภิกฺขุ
เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปริณตา ไต้แก่ (สังขารทั้งหลาย)
ถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้ เพราะละปกติ เปรียบเหมือน
ประทีปดับฉะนั้น.
บทว่า เอวํ อนิจฺจา โข ภิกฺขุ สงฺขาร ความว่า ที่ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะหมายความว่า มีแล้วกลับไม่มีอย่างนี้.
เปรียบเหมือน บุรุษพึงผูกบันไดไว้ที่ต้นจำปาซึ่งสูงถึง 100 ศอก
แล้วไต่ขึ้นไปเก็บเอาดอกจำปา ทิ้งบันไดไต่ลงมาฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุเพียงดังว่าคือ เสด็จขึ้นสู่สมบัติของ
พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ซึ่งกินเวลานานหลายแสนโกฏิปี เป็นเหมือน
ทรงผูกบันได (ไต่ขึ้นไป) ทรงถือเอาอนิจจลักษณะที่อยู่ในที่สุดแห่ง
สมบัติแล้ว เสด็จลงมาเหมือนทรงทิ้งบันได (ไต่ลงมา) ฉะนั้น.
บทว่า เอวํ อธุวา ความว่า เว้นจากความเป็นสภาพยั่งยืน
อย่างนั้น เหมือนต่อมน้ำเป็นต้นฉะนั้น.

บทว่า เอวํ อนสฺสาสิกา ความว่า เว้นจากความน่ายินดีอย่างนั้น
เหมือนน้ำดื่มที่ดื่มในความฝัน1 และเหมือนกระแจะจันทน์ที่ตนไม่ได้
ลูบไล้ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนิจจลักษณะไว้ในสูตรนี้ ดังพรรณนา
มานี้.
จบ อรรถกถาโคมยปิณฑสูตรที่ 4

5. นขสิขาสูตร



ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ 5



[252] กรุงสาวัตถี. ที่พระเชตวนาราม. ภิกษุนั้นนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ จะมีหรือไม่ รูปบางอย่างที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อ
กันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง
เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย ?
จะมีหรือไม่ พระเจ้าข้า เวทนาบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน
สืบต่อกันไป ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นเอง
เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย ?
จะมีหรือไม่ พระเจ้าข้า สัญญาบางอย่าง ฯลฯ สังขารบางอย่าง
ฯลฯ วิญญาณบางอย่าง ที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความ
ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักดำรงคงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง เสมอด้วยสิ่ง
ที่ยั่งยืนทั้งหลาย ?
1. ปาฐะว่า สุวินิเก ฉบับพม่าเป็น สุปินเก แปลตามฉบับพม่า.